วันอาทิตย์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2556

GAP Model

ช่องว่างที่ทำให้บริการด้อยคุณภาพ (Model of Service Quality Gaps)

นายประสิทธิชัย นรากรณ์
รหัสประจำตัว 5519110015
นักศึกษาปริญญาเอกบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิขาการตลาด มหาวิทยาลัยรามคำแหง

GAP Model คือ ช่องว่างที่ทำให้บริการด้อยคุณภาพ (Model of Service Quality Gaps)
การดำเนินการบริการและทำให้ลูก ค้ารู้สึกพึงพอใจได้นั้น เพราะเป็นการบริการที่มีคุณภาพดี เนื่องจากระดับการบริการอยู่เหนือความคาดหวัง แต่ถ้าคุณภาพการบริการนั้นอยู่ต่ำกว่าที่ลูกค้าคาดหวังไว้จะทำให้เกิดความไม่พอใจของลูกค้า ซึ่ง Parasuraman, et al., 1990 ได้กล่าวถึงช่องว่างหลักที่จะเกิดขึ้นจากในแนวคิดของคุณภาพบริการ ที่เป็นสาเหตุทำให้คุณภาพบริการไม่ประสบความสำเร็จ (ภาพที่ 1) ซึ่งชี้ให้เห็นถึง 5 ช่องว่าง ดังนี้
ช่องว่างที่ 1 (Gap 1): ช่องว่างของความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริโภค(ความคาดหวังของผู้บริโภค)กับนักการตลาด(การรับรู้ของฝ่ายการจัดการ )เป็นความแตกต่างระหว่างการที่ผู้ให้บริการ ไม่ทราบถึงความต้องการและความคาดหวังของผู้บริโภคที่แท้จริง ซึ่งเป็น ความต้องการจริงของลูกค้า อาจจะเกิดจากการที่ไม่มีการทำวิจัยของฝ่ายการตลาด เป็นต้น (ภาพที่ 2)
         
 
ช่องว่างที่ 2 (Gap 2): ช่องว่างของการแปลการรับรู้ให้เป็นข้อกำหนดคุณภาพโดยนักการตลาดอันมีสาเหตุมาจากการรับรู้ของฝ่ายการจัดการถึงความคาดหวังของผู้บริโภคโดยนักการตลาดเอง หรือ ช่องว่างของการแปลการรับรู้ให้เป็นข้อกำหนดคุณภาพโดยนักการตลาด มีความสัมพันธ์มาจากการรับรู้ของฝ่ายการจัดการถึงความคาดหวังของผู้บริโภคโดยนักการตลาดเอง (ภาพที่ 3)
ช่องว่างที่ 3 (Gap 3): ช่องว่างระหว่างข้อกำหนดคุณภาพการบริการกับการส่งมอบ
การบริการ คือฝ่ายบริหาร ได้มีการกำหนดมาตรฐานไว้อย่างชัดเจนแล้ว แต่ผู้ที่ให้บริการไม่สามารถ
ให้การบริการตามที่กำหนดไว้ ซึ่งอาจจะเกิดจากผู้ให้บริการได้รับการฝึกอบรมที่ไม่เพียงพอ
ไม่สามารถปฏิบัติงานได้ตามข้อกำหนด หรืองานนั้นมีความขัดแย้งกัน หรือผู้ให้บริการไม่มี
การประสานงานร่วมกัน(ภาพที่ 4)


ช่องว่างที่ 4 (Gap 4): ช่องว่างของความสัมพันธ์ระหว่างการส่งมอบบริการกับการสื่อสารภายนอกซึ่งการสื่อสารขององค์กรหรือธุรกิจนั้นจะสร้างความคาดหวังกับผู้บริโภค แต่การส่งมอบบริการนั้นไม่สามารถทำตามที่ได้ให้คำสัญญาไว้(ภาพที่ 5)


ช่องว่างที่ 5 (Gap 5): ช่องว่างระหว่างการบริการที่รับรู้กับการบริการที่คาดหวังช่องว่างนี้เกิดขึ้นเมื่อผู้บริโภครับรู้ถึงคุณภาพการบริการไม่ตรงกับที่คาดหวังไว้ ทั้ง 2 ส่วนนี้เกิดจากลูกค้าทั้งหมด(ภาพที่ 6)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น